วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขอทาน ปัญหาสังคมที่ชินตา

ปัญหาขอทานที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งใครหลายๆคนก็พบเจอกันอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นสะพานลอย ข้างถนน ตามตลาดนัด หรือย่านที่มีผู้คนพลุกพล่านต่างๆ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่มีมานาน โดยนับวันจะมีมากขึ้น ขอทานมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นขอนทานเด็ก หรือคนพิการ ซึ่งสังคมไทยเห็นแล้วเป็นเรื่องที่น่าสงสาร น่าช่วยเหลือ แต่การช่วยเหลือโดยการให้เงินไปไม่กี่บาท ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงเหตุมากนัก กลับเป็นการสนับสนุนให้มีการขอทานมากขึ้น ในทางกลับกันทางภาครัฐควรเล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เพื่อช่วยลดหรือขจัดปัญหาขอทานให้หมดไปจากสังคมไทย
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาฉันได้มีโอกาสไปเดินตลาดนัดแถวมหาวิทยาลัย ฉันได้เจอขอทานที่พิการ ขอทานคนนี้นอนคลานกับพื้นและมีเด็กผู้ชายเดินตามมาด้วย ซึ่งฉันเห็นแล้วรู้สึกสงสารมาก ทำให้ฉันคิดทันทีว่า นี่หรือคือสังคมไทย ทำไมผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่ดูแลบ้านเมืองกลับปล่อยและละเลยต่อปัญหานี้ ไม่ยอมคิดแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และฉันก็คิดต่อไปว่าเด็กคนนั้นได้เรียนหนังสือหรือเปล่า พวกเขามีความเป็นอยู่อย่างไร ในสายตาฉันมองแล้วรู้สึกสงสาร แล้วก็ฉันคิดว่าคนเดินผ่านไปผ่านมาก็คิดเช่นเดียวกับฉัน แต่จะให้ทำอย่างไรได้ประชาชนอย่างพวกเราก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ นอกจากจะบริจาคให้ไปคนละไม่กี่บาท การขอทานนี้อาจจะเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับพวกเขาก็เป็นได้ใครจะรู้ในเมื่อคนเราหมดหนทางทำกินแล้ว พวกเขายากจน ไม่มีอาชีพ ไม่มีการศึกษา อยู่ในสังคมที่มีแต่การแข่งขัน การขอทานจึงเป็นสิ่งที่พวกเขาเลือกในการหาเงินเพื่อปะทังชีวิตไปวันๆโดยการอาศัยความสงสารจากผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา ในความคิดของฉันอาจเป็นความคิดที่มองโลกในด้านเดียว แต่ในทางกลับกันพวกขอทานอาจจะมาหลอกเราด้วยวิธีการต่างๆเพื่อทำให้เราเกิดความสงสาร เพราะการขอทานเป็นงานที่สบายนั่งขอเฉยๆก็มีเงินแล้ว แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการขอทานคือปัญหาที่น่าคิดของคนไทย ว่ามีสาเหตุใดบ้าง มีปัจจัยใดบ้าง ที่ทำให้มีขอทานและมีแนวโน้มในการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง
และสุดท้ายนี้ความคิดส่วนตัวของฉันคิดว่าปัญหาขอทานในสังคมเรา เป็นปัญหาที่แสดงถึงผลของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่มีความสมดุล ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างคนรวย คนจน แบ่งชนชั้น กลายเป็นสังคมที่แข่งขันกันเพื่อความอยู่รอด และในท้ายที่สุดแล้วเมื่อใครไม่สามารถดำรงอยู่ได้กับการแข่งขันทางสังคมก็จะเป็นผู้แพ้ และผลพวงเหล่านี้ทำให้เกิดความยากจนเกิดปัญหาขอทานตามมา



มากราบคอนกรีตริมถนน
ค้อมให้ตีนคนเต็มที่
มายอมให้เหยียดย่ำยี
ว่าสิ่งบัดสีสังคม
มาอยู่ให้เห็นเป็นสัตว์
กาลีวิบัติสั่งสม
เป็นสิ่งเปื่อยเน่าโสมม
เหม็นแก่เทวดมเทวดา
ยามมือไหว้ของอหงิก
เหมือนขันอยากพลิกคว่ำหน้า
อายหมื่นอายแสนสายตา
ของผู้ผ่านมาผ่านไป
สมเพชแก่ผู้ผ่านพบ
ภาพเหมือนซากศพสั่นไหว
ท่ามดงผู้ดีมีใคร
จักมาเขาใจขอทาน
บ้านนี้เมืองนี้ประเทศนี้
กราบสีกากีสีทหาร
ไหว้เครื่องแบบราชการ
อำนาจบันดาลบูชา
ยิ่งรวยยิ่งเทอดสูงแสน
ยากจนเหยียบแบน-ขี้ข้า
สวรรค์วิมานมารยา
นรกตำตาเต็มเมือง
ขอทานการไหว้ไร้ผล
อยู่เป็นเศษคนต่อเนื่อง
ปลดฝันลงเผาเปล่าเปลือง
ลากร่างซีดเหลืองวันวัน

ที่มาของกลอน : เรื่อง ขอทาน แต่งโดย กานติ ณ ศรัทธา
จากหนังสือ รวมบทกวีท่ามกลางยุคสมัยขวัญใจเจ้า หน้า 30-31พิมพ์ครั้งแรก 2532 สำนักพิมพ์ ต้นอ้อ
ที่มาของภาพ : http://www.thaidphoto.com/ และ






2 ความคิดเห็น:

  1. น่าสงสารจังอ่ะ!!!!
    ปัญกาสังคมที่ต้องรีบแก้ไขด่วนๆๆ เรยนะคับเนี่ย
    เด๋วประเทศไทย จะเป็นแบบ ประเทศอินเดียล่ะ ไม่ไหวนะ

    ตอบลบ
  2. เขียนได้ดีมากค่ะ แต่ tumtum จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรบ้างจ๊ะ

    ตอบลบ