วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

สิทธิมนุษยชน

องค์ประกอบหลักของเนื้อหาว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน
คำศัพท์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งความถูกต้องชอบธรรมนั้นมีที่มาจากการเคารพซึ่งกันและกัน การใช้สิทธินั้นใช้ได้เท่าที่ไม่ไปละเมิดในสิทธิผู้อื่น เช่น เคารพในสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นความจำเป็นของชีวิต
เสรีภาพ หมายถึง ความมีเสรี คือ มีสิทธิทุกอย่างตามธรรมชาติ เว้นแต่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
อิสรภาพ หมายถึง ความเป็นใหญ่ ความเป็นไทแก่ตัว การปกครองตนเองในความหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนคือ อิสรภาพต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วยพึงระวังมิให้ไปก้าวล้ำในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น
ความเท่าเทียม หมายถึง การยอมรับในหลักที่ว่า การไม่แบ่งแยกชนชั้นสติปัญญา วัฒนธรรม และชาติกำเนิด ยอมรับถึงการเป็นมนุษย์นั้นเท่าเทียมในเรื่องความสามารถความเฉลียวฉลาดและโอกาสที่พึงได้รับ
ศักดิ์ศรี หมายถึง การเคารพในเกียรติศักดิ์ของความเป็นคนว่า คนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ทุกๆคนจึงมีศักดิ์ศรีของความเป็นคนเท่ากัน

ความเป็นมาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายบอกได้ชัดเจนว่า มนุษย์มีการยอมรับหรือเคารพสิทธิมนุษยชนกันมามากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นก็คือ การแสวงหาอิสรภาพของมนุษย์ในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความรัก การต่อสู่ดิ้นรนเพื่อความหลุดพ้นจากเครื่องจองจำ จากความเป็นทาส และการแสวงหาอิสรภาพเพื่อการนับถือศาสนา สิ่งเหล่านี้พอมีให้เห็นและมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของสนธิสัญญาต่างๆ เช่นสัญญาแห่งเวสต์ฟาเลีย พ.ศ. 2191 (Treaties of West Phalia of 1648) และการเลิกทาส ระบบทาสนั้นถูกต่อต้านโดยสภาแห่งเวียนนา พ.ศ. 2358 (The Congress of Vienna ในปี ค.ศ. 1815) สนธิสัญญาระหว่างชาติหลายฉบับที่ต่อต้านระบบทาสปรากฏขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เช่น สนธิสัญญาวอชิงตัน พ.ศ.2405 (The Treaty of Washington of 1863) ดังปรากฏในเอกสารการประชุมในที่ประชุมแห่งบรัสเซลส์ พ.ศ.2410 และ พ.ศ.2433 (Conferences of Brussels ในปี ค.ศ.1867 และ 1890) และในสนธิสัญญาเบอร์ลิน พ.ศ. 2428 ส่วนอีกด้านก็มีความร่วมมือระหว่างชาติต่างๆ ปรากฎในรูปกฎหมายเกี่ยวกับสงคราม เช่น ปฎิญญาแห่งปารีส พ.ศ.2407 ครั้งที่สองปี พ.ศ. 2449 ที่ประชุมที่ กรุงเฮก รวมถึงการก่อตั้งคณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยกาชาด พ.ศ.2407 ซึ่งมีส่วนสนับสนุนให้แนวความคิดนี้แพร่หลายมากขึ้น
แต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่1 ก็เกิดความเชื่อว่า ลำพังรัฐบาลฝ่ายเดียวไม่สามารถจะพิทักษ์สิทธิมนุษยชนได้ ต้องมีการรับรองในหลายๆชาติ แม้อำนาจขององค์การสันนิบาตชาติ(The League of Nations) ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรหนึ่งที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นรัฐบาลร่วมแห่งชาติสากล ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่1 ก็ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนสันนิบาตชาติพยายามรับอาสาในการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนโดยผ่านความร่วมมือระหว่างชาติ อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศ 2-3 ประเทศได้มีการกำหนดเงื่อนไขระหว่างกันที่ชัดเจนในการพิทักษ์สิทธิของชนกลุ่มน้อยหรือมีการกำหนดมาตรฐาน ที่เป็นตัวตัดสินถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมในต้นศตวรรษที่20 อันเป็นที่มาของข้อตกลงยินยอมร่วมกันซึ่งกว้างขวางขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างชาติ พ.ศ. 2462 (International Labour Organization(ILO) ในปี ค.ศ.1919) อนุสัญญการประชุมระหว่างชาติว่าด้วยทาส(International Slavery Convention) ที่เจนีวา มีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นความสำเร็จซึ่งได้ใช้ความพยายามอันยาวนานในการล้มล้างระบบทาสอนุสัญญาคุ้มครองผู้ลี้ภัยก็ถูกนำมาใช้เช่นกันในปี พ.ศ.2476 และ พ.ศ. 2487 แม้ว่าจะมีความพยายามต่างๆเกิดขึ้นในสังคมก็ตาม แต่ในช่วงที่เกิดสงครามระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชนก็ถูกลืมไปอีกเช่นเดิม
การปกครองแบบรวมอำนาจเกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2463 และ พ.ศ. 2473 ซึ่งเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิมนุษยชนของตนในประเทศอาณานิคมในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นำมาซึ่งความสับสนในวิถีชีวิตมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นคนและแสดงความพยายามในการขับไล่กลุ่มชนที่ต่างเผ่าพันธุ์ ชนชาติและศาสนา ดังนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์แจ้งว่า สมควรมีเครื่องมือระหว่างชาติที่จะรวบรวมแก่นสารของการพิทักษ์สิทธิมนุษยชน อันจะนำมาซึ่งสันติภาพของโลกและความก้าวหน้าอื่นๆ


สิทธิมนุษยชน คืออะไร
สิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่พึงมี เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า หากมีการล่วงละเมิดต่อสิทธิดังกล่าว ย่อมจะได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยกฎหมาย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย และความมั่นคงปลอดภัย สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน ตลอดจนสิทธิในการเคลื่อนไหวและในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นต้น นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนยังหมายถึง สิทธิที่พึงมีเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ คุณภาพชีวิต เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เช่น สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในการเลือกที่จะประกอบอาชีพ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นตลอดจนสิทธิในการมีส่วนร่วมในทางการเมือง เป็นต้น จะเห็นได้ว่า สิทธิมนุษยชนประกอบไปด้วยสิทธิต่างๆ ครอบคลุมวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย



การทำความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน ( Human Right)
การคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ทำความเข้าใจและความจำเป็นในเรื่อง
+
: ชีวิต (Life)
+
: ความถูกต้องเที่ยงธรรม ความยุติธรรม (Rights)
+
: การคำนึงถึงชีวิตและศักดิ์ศรีที่ว่า
· ชาติหรือถิ่นกำเนิดพื้นเพ
· จะอยู่ร่วมกันอย่างไร
· จะคบหากันอย่างไร
· จะแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างไร
· จะปกครองอย่างไร
· จะออกกฎหมายอย่างไร
· จะกระจายอำนาจอย่างไร
· ฯลฯ

สิทธิ เสรีภาพ และอิสรภาพ (Liberty)
รัฐจะต้องทำให้เกิดความชอบธรรม โดยคำนึงถึงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพื่อออกเป็นกฎหมาย สร้างความเป็นธรรมนับตั้งแต่

: สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล (Individual Liberty)
+
: สิทธิเสรีภาพในท้องถิ่น (Local Liberty)
+
: สิทธิและเสรีภาพในบ้านเมือง (Civil Liberty)
+
: เสรีภาพทางสังคม (Social Liberty)
+
: สิทธิและเสรีภาพทางการเมือง (Politic Liberty)
+
: ประชาธิปไตย (Democratic)
เมื่อเรายอมรับความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วยความถูกต้องชอบธรรม โดยคำนึงถึงความจำเป็นซึ่งชีวิต (Life) เป็นพื้นฐานแล้ว หากได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง การเรียกร้องในสิทธิที่ชอบธรรมจึงถือเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ ยกเว้นสัตว์ที่ไม่อาจจะเรียกร้องได้ จึงเป็นเรื่องของมนุษย์ผู้เจริญแล้วจะต้องกระทำให้เกิดการคุ้มครองในสิทธิขั้นพื้นฐานแก่มัน การที่บอกว่าสัตว์อยู่ได้ด้วยความเมตตาของมนุษย์ จึงไม่ใช่เหตุผลที่ถูกต้องเสมอไป ทั้งนี้เพราะความสูงต่ำในเรื่องคุณธรรมในใจคนนั้นต่างกัน
ปัญหาของการเรียกร้องในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานหรือสิทธิมนุษยชนนั้นอยู่ที่ว่า หากขาดความสนใจในปัญหาหรือความจำเป็นขั้นพื้นฐานเมื่อใด เมื่อนั้นฝ่ายที่เรียกร้องจะสร้างการต่อรอง จนท้ายสุดกลายเป็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะกัน ไม่มีใครสนใจที่จะพิจารณาสาเหตุของปัญหา หรือพูดจากันด้วยเหตุผล หากเกิดบรรยากาศเช่นว่านี้ก็จะกลายเป็นเรื่องอื่นไปทันที เช่น การที่ชาวบ้านปิดถนนรัฐบาลก็ไม่สนใจ ขณะเดียวกันก็ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายฝูงชน ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่าความถูกต้องชอบธรรมไม่เกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น หลักของการเรียกร้องในเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเดือดร้อนในเรื่องใดก็ตาม ผู้ที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และต้องถือเป็นธุระที่สำคัญยิ่ง พร้อมกับหาทางแก้ไขอย่าให้บานปลายกลายเป็นเรื่องอื่น การแก้ปัญหาต้องไม่ยืดเยื้อ อย่าให้เข้าทำนองที่ว่ากว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้หรือวัวหายล้อมคอก เป็นต้น ดังนั้น ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และอิสรภาพ จะแสดงออกหรือกระทำการได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับกฎกติกาที่สังคมร่วมกันกำหนด แต่กฎกติกาจะถูกต้องชอบธรรมแค่ไหนขึ้นอยู่กับผู้ออกกฎหมายว่ามีความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากน้อยแค่ไหนเป็นเรื่องสำคัญ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่สำคัญของประเทศไทยในปี 2552
5 ลำดับประเภทสิทธิมนุษยชนที่มีการร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด
1. สิทธิในชีวิตและร่างกาย ร้อยละ 20.59
2. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 17.96
3.ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ร้อยละ 13.31
4. สิทธิในการจัดการที่ดิน ร้อยละ 10.37
5. สิทธิแรงงาน ร้อยละ 9.13
คำขวัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
“เคารพสิทธิมนุษยชน ถ้วนทุกคนมีสันติสุข”
ลิงค์บทเพลงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Tokyo Sonata


Tokyo Sonata เป็นหนังที่มีบทเรียนที่ดีสำหรับคนยุคนี้ที่ชีวิตเต็มไปด้วยความเครียดและการแข่งขัน ในหนังมอบบทเรียนที่ดีไว้เป็นอาวุธเพื่อไว้ในกรณีที่ต้องเจอ นั่นก็คือการรู้จักวิธีการปรับตัวของคนในครอบครัว

หากกล่าวถึงหนังเรื่องนี้แล้วเราคงต้องกล่าวแนวคิดของหนังที่นำเพลงมาใช้เป็นชื่อเรื่อง โดยหนังใช้เพลง Clair De Lune เป็นผลงานการประพันธ์ของ De Bussy เพลงนี้มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ใครหลายๆคนได้ยินแล้วต้องตั้งใจฟังมันจนจบ ซึ่งเข้ากับหนังเรื่องนี้ที่ขึ้นมาอย่างราบเรียบ แล้วมาเร่งเร้า สับสนในช่วงกลางแต่สุดท้ายทุกอย่างก็คลี่คลาย

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์.........
จากภาพยนตร์แสดงถึงปัญหาครอบครัวของครอบครัวที่อยู่ท่ามกลางสังคมโลกที่เต็มไปด้วยความเครียดและการแข่งขัน โดยเรื่องราวแสดงถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวที่มีปัญหาการขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แสดงให้เห็นถึงปัญหาครอบครัวที่ขาดความเข้าใจกัน ในเรื่องนี้แสดงถึงสภาพตัวผู้นำของครอบครัว คือผู้เป็นพ่อที่ไม่สามารถยอมรับกับการตกงานได้และด้วยความที่ตนเป็นผู้นำครอบครัวจึงไม่กล้าที่จะบอกให้คนในครอบครัวทราบ ส่วนภรรยาเมื่อรู้ว่าสามีตกงานแล้วมาเป็นคนทำความสะอาดห้างก็ไม่สามารถยอมรับได้ ด้านลูกชายคนโตที่ไม่ค่อยอยู่บ้านมาอีกมีก็ไปเป็นทหารที่อิรัก และลูกชายคนเล็กเป็นเด็กที่กล้าพูด แต่ชอบอยู่คนเดียว มีพรสวรรค์ด้านการเล่นเปียโน แต่เนื่องด้วยปัญหาทางครอบครัวพ่อเขาจึงไม่สนับสนุน เขาจึงเอาเงินค่าอาหารกลางวันที่แม่ให้ไปจ่ายที่โรงเรียนไปเรียนเปียโนแทน จากสภาพครอบครัวที่นำเสนอมานั้นเป็นครอบครัวที่ขาดการติดต่อสื่อสารกันที่ดี คือ ไม่ค่อยได้มีเวลาอยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อคุยกัน สิ่งนี้เองเป็นปัญหาของครอบครัว อันเกิดจากความสัมพันธ์ที่ไม่มีระหว่างกัน เพราะการมีปัญหาของคนใดคนคนหนึ่งแล้ว นั่นก็คือปัญหาของทุกคนในครอบครัว เมื่อมีปัญหาควรนำมาปรึกษากัน เปิดใจคุยกันร่วมกันหาทางออก พูดคุยกันแล้ววางแผนแก้ปัญหา และสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนของเรื่องนี้คือ หากเกิดปัญหาอย่างในภาพยนตร์คนในครอบครัวต้องรู้จักการปรับตัวและยอมรับกับภาวะสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่พบในเรื่องนี้ คือ ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่นิยม
ซึ่งในภาพยนตร์เรื่อง Tokyo Sonata สามารถนำเสนอเนื้อเรื่องได้สอดคล้องกับทฤษฎีทางสังคมวิทยา ในทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่นิยม ก่อนอื่นมารู้จักกับทฤษฎีนี้กันก่อน
หัวใจของทฤษฎีนี้มีสมมุติฐานที่ว่า สังคมเป็นเสมือนสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง สิ่งมีชีวิตนี้จะมีส่วนประกอบหลายอย่าง แต่ละอย่างมีหน้าที่เฉพาะจะต้องปฏิบัติเพื่อการคงอยู่ของส่วนรวมคือตัวสิ่งมีชีวิตนั้น สังคมมนุษย์ก็เป็นอย่างนั้นทุกส่วนของสังคมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ ส่วนต่างๆเหล่านั้นของสังคมรวมกันเข้าก็เป็นโครงสร้างของสังคม จึงได้ชื่อว่าทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่
กล่าวโดยสรุป คือ ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ช่วยในการอธิบายบริบทของสังคมในมิติขององค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่ปรากฏ ความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลและกลุ่มคนในรูปแบบของวิถีชีวิต การใช้กลไกทางสังคมผ่านระบบความเชื่อและค่านิยมเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคน ให้สังคมอยู่ในภาวะสมดุล (Equilibrium) ไม่ให้เกิดความไร้ระเบียบ (Anomie)
ความสอดคล้องนั่นก็คือ
1.จากภาพยนตร์การแข่งขันกันทางเศรษฐกิจทำให้หน่วยงานต่างๆ ต้องปลดพนักงานที่มีความสามารถสู้พนักงานรุ่นใหม่ได้ เพราะคนรุ่นใหม่จะสามารถนำพาบริษัทพัฒนาไปได้ ปัญหานี้เองส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและหน้าที่ของสถาบันทางครอบครัว เศรษฐกิจ เช่น ครอบครัวขาดรายได้ ทั้งที่ครอบครัวก็มีหน้าที่ทำการบริโภค ปัจจัยต่างๆในทางเศรษฐกิจ หากครอบครัวขาดรายได้ก็ไม่มีกำลังซื้อ บริษัทที่ผลิตปัจจัยต่างๆจะอยู่ได้อย่างไร แล้วยังส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อวิถีชีวิตของชุมชนต่าง ๆ ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค เนื่องจากสังคมจะรวมกันได้ต้องมีครอบครัว เพราะแต่ละครอบครัวมีหน้าที่ดำรงไว้ความเป็นสังคม
2.การสั่งสมความรู้ความเข้าใจผ่านวัฒนธรรมที่หล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมของคนทั้งหมดตามทฤษฎีหน้าที่นิยมของ Malinowski ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตด้านต่าง ๆ ของชาวญี่ปุ่นที่เชื่อว่าพ่อคือผู้นำคนครอบครัว มีศักดิ์มีศรีเหนือคนในครอบครัว ทุกคนต้องเชื่อฟัง ตัวละครในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็อธิบายวัฒนธรรมหน้าของคนในครอบครัว ได้เป็นอย่างดี
สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา เป็นผลทำให้ทำให้โครงสร้างหน้าที่ทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่วัฒธรรมความเชื่อเดิมก็ยังคงอยู่ซึ่งขัดกับ ปัญหาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นหน้าที่ของคนในสังคม คือต้องรู้จักวิธีการปรับตัว

หากเป็นตัวละครเอกในเรื่อง
หากเป็นพ่อ
ฉันจะเป็นพ่อที่คอยดูแลเอาใจใส่ครอบครัว และฉันจะบอกเรื่องตกงานให้กับทุกคนในครอบครัวรู้เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาโดยไม่อายที่จะบอก แล้วร่วมกันหาวิธีการปรับตัว
หากเป็นแม่
ฉันจะคอยดูแลคนในบ้าน เอาใจใส่ คอยให้คำปรึกษาและพร้อมยอมรับกับปัญหาของสามีที่เกิดขึ้นรวมทั้งร่วมกันหาทางแก้และปรับตัว
หากเป็นพี่คนโต
จะกลับบ้านอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน ไม่ออกนอกบ้านบ่อย ไม่กลับดึกดื่น เป็นที่ปรึกษาให้น้อง และเป็นคนดีของพ่อแม่
หากเป็นน้องคนเล็ก
จะทำตัวเป็นคนดีของพ่อแม่ และจะทำตามตัวละครในเรื่องนี้ ทำตามความฝันของตนเอง ฉันคิดว่าน้องคนเล็กสามารถทำหน้าที่ของตนได้ดี และคิดว่าตัวละครตัวนี้มีภูมิคุ้มกันที่ดี จนสามารถสอบเข้าโรงเรียนดนตรีได้ ในท่ามกลางที่ครอบครัวมีปัญหา
หากเป็นตนเอง
ฉันจะยอมรับกับทุกเรื่องที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่ามันจะยากก็ตาม แต่ฉันจะเลือกวิธีการคุยกันในครอบครัวให้มาก มีเวลาพูดคุยกันในครอบครัวให้มาก มีปัญหาก็คุยปรึกษากัน และที่สำคัญต้องรู้จักวิธีการปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ข้อคิด
ความรัก ความเข้าใจ คือภูมิคุ้มกันที่ยิ่งใหญ่ของครอบครัว
คำถาม
หากครอบครัวเราประสบกับปัญหาท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ เราจะมีวิธีหาภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัวอย่างไรบ้าง ? ลองคิดกันดูนะครับ

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขอทาน ปัญหาสังคมที่ชินตา

ปัญหาขอทานที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งใครหลายๆคนก็พบเจอกันอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นสะพานลอย ข้างถนน ตามตลาดนัด หรือย่านที่มีผู้คนพลุกพล่านต่างๆ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่มีมานาน โดยนับวันจะมีมากขึ้น ขอทานมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นขอนทานเด็ก หรือคนพิการ ซึ่งสังคมไทยเห็นแล้วเป็นเรื่องที่น่าสงสาร น่าช่วยเหลือ แต่การช่วยเหลือโดยการให้เงินไปไม่กี่บาท ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงเหตุมากนัก กลับเป็นการสนับสนุนให้มีการขอทานมากขึ้น ในทางกลับกันทางภาครัฐควรเล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เพื่อช่วยลดหรือขจัดปัญหาขอทานให้หมดไปจากสังคมไทย
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาฉันได้มีโอกาสไปเดินตลาดนัดแถวมหาวิทยาลัย ฉันได้เจอขอทานที่พิการ ขอทานคนนี้นอนคลานกับพื้นและมีเด็กผู้ชายเดินตามมาด้วย ซึ่งฉันเห็นแล้วรู้สึกสงสารมาก ทำให้ฉันคิดทันทีว่า นี่หรือคือสังคมไทย ทำไมผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่ดูแลบ้านเมืองกลับปล่อยและละเลยต่อปัญหานี้ ไม่ยอมคิดแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และฉันก็คิดต่อไปว่าเด็กคนนั้นได้เรียนหนังสือหรือเปล่า พวกเขามีความเป็นอยู่อย่างไร ในสายตาฉันมองแล้วรู้สึกสงสาร แล้วก็ฉันคิดว่าคนเดินผ่านไปผ่านมาก็คิดเช่นเดียวกับฉัน แต่จะให้ทำอย่างไรได้ประชาชนอย่างพวกเราก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ นอกจากจะบริจาคให้ไปคนละไม่กี่บาท การขอทานนี้อาจจะเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับพวกเขาก็เป็นได้ใครจะรู้ในเมื่อคนเราหมดหนทางทำกินแล้ว พวกเขายากจน ไม่มีอาชีพ ไม่มีการศึกษา อยู่ในสังคมที่มีแต่การแข่งขัน การขอทานจึงเป็นสิ่งที่พวกเขาเลือกในการหาเงินเพื่อปะทังชีวิตไปวันๆโดยการอาศัยความสงสารจากผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา ในความคิดของฉันอาจเป็นความคิดที่มองโลกในด้านเดียว แต่ในทางกลับกันพวกขอทานอาจจะมาหลอกเราด้วยวิธีการต่างๆเพื่อทำให้เราเกิดความสงสาร เพราะการขอทานเป็นงานที่สบายนั่งขอเฉยๆก็มีเงินแล้ว แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการขอทานคือปัญหาที่น่าคิดของคนไทย ว่ามีสาเหตุใดบ้าง มีปัจจัยใดบ้าง ที่ทำให้มีขอทานและมีแนวโน้มในการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง
และสุดท้ายนี้ความคิดส่วนตัวของฉันคิดว่าปัญหาขอทานในสังคมเรา เป็นปัญหาที่แสดงถึงผลของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่มีความสมดุล ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างคนรวย คนจน แบ่งชนชั้น กลายเป็นสังคมที่แข่งขันกันเพื่อความอยู่รอด และในท้ายที่สุดแล้วเมื่อใครไม่สามารถดำรงอยู่ได้กับการแข่งขันทางสังคมก็จะเป็นผู้แพ้ และผลพวงเหล่านี้ทำให้เกิดความยากจนเกิดปัญหาขอทานตามมา



มากราบคอนกรีตริมถนน
ค้อมให้ตีนคนเต็มที่
มายอมให้เหยียดย่ำยี
ว่าสิ่งบัดสีสังคม
มาอยู่ให้เห็นเป็นสัตว์
กาลีวิบัติสั่งสม
เป็นสิ่งเปื่อยเน่าโสมม
เหม็นแก่เทวดมเทวดา
ยามมือไหว้ของอหงิก
เหมือนขันอยากพลิกคว่ำหน้า
อายหมื่นอายแสนสายตา
ของผู้ผ่านมาผ่านไป
สมเพชแก่ผู้ผ่านพบ
ภาพเหมือนซากศพสั่นไหว
ท่ามดงผู้ดีมีใคร
จักมาเขาใจขอทาน
บ้านนี้เมืองนี้ประเทศนี้
กราบสีกากีสีทหาร
ไหว้เครื่องแบบราชการ
อำนาจบันดาลบูชา
ยิ่งรวยยิ่งเทอดสูงแสน
ยากจนเหยียบแบน-ขี้ข้า
สวรรค์วิมานมารยา
นรกตำตาเต็มเมือง
ขอทานการไหว้ไร้ผล
อยู่เป็นเศษคนต่อเนื่อง
ปลดฝันลงเผาเปล่าเปลือง
ลากร่างซีดเหลืองวันวัน

ที่มาของกลอน : เรื่อง ขอทาน แต่งโดย กานติ ณ ศรัทธา
จากหนังสือ รวมบทกวีท่ามกลางยุคสมัยขวัญใจเจ้า หน้า 30-31พิมพ์ครั้งแรก 2532 สำนักพิมพ์ ต้นอ้อ
ที่มาของภาพ : http://www.thaidphoto.com/ และ