องค์ประกอบหลักของเนื้อหาว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน
คำศัพท์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งความถูกต้องชอบธรรมนั้นมีที่มาจากการเคารพซึ่งกันและกัน การใช้สิทธินั้นใช้ได้เท่าที่ไม่ไปละเมิดในสิทธิผู้อื่น เช่น เคารพในสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นความจำเป็นของชีวิต
เสรีภาพ หมายถึง ความมีเสรี คือ มีสิทธิทุกอย่างตามธรรมชาติ เว้นแต่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
อิสรภาพ หมายถึง ความเป็นใหญ่ ความเป็นไทแก่ตัว การปกครองตนเองในความหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนคือ อิสรภาพต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วยพึงระวังมิให้ไปก้าวล้ำในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น
ความเท่าเทียม หมายถึง การยอมรับในหลักที่ว่า การไม่แบ่งแยกชนชั้นสติปัญญา วัฒนธรรม และชาติกำเนิด ยอมรับถึงการเป็นมนุษย์นั้นเท่าเทียมในเรื่องความสามารถความเฉลียวฉลาดและโอกาสที่พึงได้รับ
ศักดิ์ศรี หมายถึง การเคารพในเกียรติศักดิ์ของความเป็นคนว่า คนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ทุกๆคนจึงมีศักดิ์ศรีของความเป็นคนเท่ากัน
ความเป็นมาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายบอกได้ชัดเจนว่า มนุษย์มีการยอมรับหรือเคารพสิทธิมนุษยชนกันมามากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นก็คือ การแสวงหาอิสรภาพของมนุษย์ในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความรัก การต่อสู่ดิ้นรนเพื่อความหลุดพ้นจากเครื่องจองจำ จากความเป็นทาส และการแสวงหาอิสรภาพเพื่อการนับถือศาสนา สิ่งเหล่านี้พอมีให้เห็นและมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของสนธิสัญญาต่างๆ เช่นสัญญาแห่งเวสต์ฟาเลีย พ.ศ. 2191 (Treaties of West Phalia of 1648) และการเลิกทาส ระบบทาสนั้นถูกต่อต้านโดยสภาแห่งเวียนนา พ.ศ. 2358 (The Congress of Vienna ในปี ค.ศ. 1815) สนธิสัญญาระหว่างชาติหลายฉบับที่ต่อต้านระบบทาสปรากฏขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เช่น สนธิสัญญาวอชิงตัน พ.ศ.2405 (The Treaty of Washington of 1863) ดังปรากฏในเอกสารการประชุมในที่ประชุมแห่งบรัสเซลส์ พ.ศ.2410 และ พ.ศ.2433 (Conferences of Brussels ในปี ค.ศ.1867 และ 1890) และในสนธิสัญญาเบอร์ลิน พ.ศ. 2428 ส่วนอีกด้านก็มีความร่วมมือระหว่างชาติต่างๆ ปรากฎในรูปกฎหมายเกี่ยวกับสงคราม เช่น ปฎิญญาแห่งปารีส พ.ศ.2407 ครั้งที่สองปี พ.ศ. 2449 ที่ประชุมที่ กรุงเฮก รวมถึงการก่อตั้งคณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยกาชาด พ.ศ.2407 ซึ่งมีส่วนสนับสนุนให้แนวความคิดนี้แพร่หลายมากขึ้น
แต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่1 ก็เกิดความเชื่อว่า ลำพังรัฐบาลฝ่ายเดียวไม่สามารถจะพิทักษ์สิทธิมนุษยชนได้ ต้องมีการรับรองในหลายๆชาติ แม้อำนาจขององค์การสันนิบาตชาติ(The League of Nations) ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรหนึ่งที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นรัฐบาลร่วมแห่งชาติสากล ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่1 ก็ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนสันนิบาตชาติพยายามรับอาสาในการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนโดยผ่านความร่วมมือระหว่างชาติ อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศ 2-3 ประเทศได้มีการกำหนดเงื่อนไขระหว่างกันที่ชัดเจนในการพิทักษ์สิทธิของชนกลุ่มน้อยหรือมีการกำหนดมาตรฐาน ที่เป็นตัวตัดสินถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมในต้นศตวรรษที่20 อันเป็นที่มาของข้อตกลงยินยอมร่วมกันซึ่งกว้างขวางขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างชาติ พ.ศ. 2462 (International Labour Organization(ILO) ในปี ค.ศ.1919) อนุสัญญการประชุมระหว่างชาติว่าด้วยทาส(International Slavery Convention) ที่เจนีวา มีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นความสำเร็จซึ่งได้ใช้ความพยายามอันยาวนานในการล้มล้างระบบทาสอนุสัญญาคุ้มครองผู้ลี้ภัยก็ถูกนำมาใช้เช่นกันในปี พ.ศ.2476 และ พ.ศ. 2487 แม้ว่าจะมีความพยายามต่างๆเกิดขึ้นในสังคมก็ตาม แต่ในช่วงที่เกิดสงครามระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชนก็ถูกลืมไปอีกเช่นเดิม
การปกครองแบบรวมอำนาจเกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2463 และ พ.ศ. 2473 ซึ่งเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิมนุษยชนของตนในประเทศอาณานิคมในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นำมาซึ่งความสับสนในวิถีชีวิตมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นคนและแสดงความพยายามในการขับไล่กลุ่มชนที่ต่างเผ่าพันธุ์ ชนชาติและศาสนา ดังนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์แจ้งว่า สมควรมีเครื่องมือระหว่างชาติที่จะรวบรวมแก่นสารของการพิทักษ์สิทธิมนุษยชน อันจะนำมาซึ่งสันติภาพของโลกและความก้าวหน้าอื่นๆ
การทำความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน
คำศัพท์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งความถูกต้องชอบธรรมนั้นมีที่มาจากการเคารพซึ่งกันและกัน การใช้สิทธินั้นใช้ได้เท่าที่ไม่ไปละเมิดในสิทธิผู้อื่น เช่น เคารพในสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นความจำเป็นของชีวิต
เสรีภาพ หมายถึง ความมีเสรี คือ มีสิทธิทุกอย่างตามธรรมชาติ เว้นแต่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
อิสรภาพ หมายถึง ความเป็นใหญ่ ความเป็นไทแก่ตัว การปกครองตนเองในความหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนคือ อิสรภาพต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วยพึงระวังมิให้ไปก้าวล้ำในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น
ความเท่าเทียม หมายถึง การยอมรับในหลักที่ว่า การไม่แบ่งแยกชนชั้นสติปัญญา วัฒนธรรม และชาติกำเนิด ยอมรับถึงการเป็นมนุษย์นั้นเท่าเทียมในเรื่องความสามารถความเฉลียวฉลาดและโอกาสที่พึงได้รับ
ศักดิ์ศรี หมายถึง การเคารพในเกียรติศักดิ์ของความเป็นคนว่า คนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ทุกๆคนจึงมีศักดิ์ศรีของความเป็นคนเท่ากัน
ความเป็นมาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายบอกได้ชัดเจนว่า มนุษย์มีการยอมรับหรือเคารพสิทธิมนุษยชนกันมามากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นก็คือ การแสวงหาอิสรภาพของมนุษย์ในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความรัก การต่อสู่ดิ้นรนเพื่อความหลุดพ้นจากเครื่องจองจำ จากความเป็นทาส และการแสวงหาอิสรภาพเพื่อการนับถือศาสนา สิ่งเหล่านี้พอมีให้เห็นและมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของสนธิสัญญาต่างๆ เช่นสัญญาแห่งเวสต์ฟาเลีย พ.ศ. 2191 (Treaties of West Phalia of 1648) และการเลิกทาส ระบบทาสนั้นถูกต่อต้านโดยสภาแห่งเวียนนา พ.ศ. 2358 (The Congress of Vienna ในปี ค.ศ. 1815) สนธิสัญญาระหว่างชาติหลายฉบับที่ต่อต้านระบบทาสปรากฏขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เช่น สนธิสัญญาวอชิงตัน พ.ศ.2405 (The Treaty of Washington of 1863) ดังปรากฏในเอกสารการประชุมในที่ประชุมแห่งบรัสเซลส์ พ.ศ.2410 และ พ.ศ.2433 (Conferences of Brussels ในปี ค.ศ.1867 และ 1890) และในสนธิสัญญาเบอร์ลิน พ.ศ. 2428 ส่วนอีกด้านก็มีความร่วมมือระหว่างชาติต่างๆ ปรากฎในรูปกฎหมายเกี่ยวกับสงคราม เช่น ปฎิญญาแห่งปารีส พ.ศ.2407 ครั้งที่สองปี พ.ศ. 2449 ที่ประชุมที่ กรุงเฮก รวมถึงการก่อตั้งคณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยกาชาด พ.ศ.2407 ซึ่งมีส่วนสนับสนุนให้แนวความคิดนี้แพร่หลายมากขึ้น
แต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่1 ก็เกิดความเชื่อว่า ลำพังรัฐบาลฝ่ายเดียวไม่สามารถจะพิทักษ์สิทธิมนุษยชนได้ ต้องมีการรับรองในหลายๆชาติ แม้อำนาจขององค์การสันนิบาตชาติ(The League of Nations) ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรหนึ่งที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นรัฐบาลร่วมแห่งชาติสากล ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่1 ก็ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนสันนิบาตชาติพยายามรับอาสาในการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนโดยผ่านความร่วมมือระหว่างชาติ อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศ 2-3 ประเทศได้มีการกำหนดเงื่อนไขระหว่างกันที่ชัดเจนในการพิทักษ์สิทธิของชนกลุ่มน้อยหรือมีการกำหนดมาตรฐาน ที่เป็นตัวตัดสินถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมในต้นศตวรรษที่20 อันเป็นที่มาของข้อตกลงยินยอมร่วมกันซึ่งกว้างขวางขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างชาติ พ.ศ. 2462 (International Labour Organization(ILO) ในปี ค.ศ.1919) อนุสัญญการประชุมระหว่างชาติว่าด้วยทาส(International Slavery Convention) ที่เจนีวา มีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นความสำเร็จซึ่งได้ใช้ความพยายามอันยาวนานในการล้มล้างระบบทาสอนุสัญญาคุ้มครองผู้ลี้ภัยก็ถูกนำมาใช้เช่นกันในปี พ.ศ.2476 และ พ.ศ. 2487 แม้ว่าจะมีความพยายามต่างๆเกิดขึ้นในสังคมก็ตาม แต่ในช่วงที่เกิดสงครามระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชนก็ถูกลืมไปอีกเช่นเดิม
การปกครองแบบรวมอำนาจเกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2463 และ พ.ศ. 2473 ซึ่งเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิมนุษยชนของตนในประเทศอาณานิคมในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นำมาซึ่งความสับสนในวิถีชีวิตมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นคนและแสดงความพยายามในการขับไล่กลุ่มชนที่ต่างเผ่าพันธุ์ ชนชาติและศาสนา ดังนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์แจ้งว่า สมควรมีเครื่องมือระหว่างชาติที่จะรวบรวมแก่นสารของการพิทักษ์สิทธิมนุษยชน อันจะนำมาซึ่งสันติภาพของโลกและความก้าวหน้าอื่นๆ
สิทธิมนุษยชน คืออะไร
สิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่พึงมี เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า หากมีการล่วงละเมิดต่อสิทธิดังกล่าว ย่อมจะได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยกฎหมาย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย และความมั่นคงปลอดภัย สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน ตลอดจนสิทธิในการเคลื่อนไหวและในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นต้น นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนยังหมายถึง สิทธิที่พึงมีเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ คุณภาพชีวิต เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เช่น สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในการเลือกที่จะประกอบอาชีพ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นตลอดจนสิทธิในการมีส่วนร่วมในทางการเมือง เป็นต้น จะเห็นได้ว่า สิทธิมนุษยชนประกอบไปด้วยสิทธิต่างๆ ครอบคลุมวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย
การทำความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน ( Human Right)
การคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ทำความเข้าใจและความจำเป็นในเรื่อง
+
: ชีวิต (Life)
+
: ความถูกต้องเที่ยงธรรม ความยุติธรรม (Rights)
+
: การคำนึงถึงชีวิตและศักดิ์ศรีที่ว่า
· ชาติหรือถิ่นกำเนิดพื้นเพ
· จะอยู่ร่วมกันอย่างไร
· จะคบหากันอย่างไร
· จะแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างไร
· จะปกครองอย่างไร
· จะออกกฎหมายอย่างไร
· จะกระจายอำนาจอย่างไร
· ฯลฯ
การคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ทำความเข้าใจและความจำเป็นในเรื่อง
+
: ชีวิต (Life)
+
: ความถูกต้องเที่ยงธรรม ความยุติธรรม (Rights)
+
: การคำนึงถึงชีวิตและศักดิ์ศรีที่ว่า
· ชาติหรือถิ่นกำเนิดพื้นเพ
· จะอยู่ร่วมกันอย่างไร
· จะคบหากันอย่างไร
· จะแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างไร
· จะปกครองอย่างไร
· จะออกกฎหมายอย่างไร
· จะกระจายอำนาจอย่างไร
· ฯลฯ
สิทธิ เสรีภาพ และอิสรภาพ (Liberty)
รัฐจะต้องทำให้เกิดความชอบธรรม โดยคำนึงถึงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพื่อออกเป็นกฎหมาย สร้างความเป็นธรรมนับตั้งแต่
รัฐจะต้องทำให้เกิดความชอบธรรม โดยคำนึงถึงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพื่อออกเป็นกฎหมาย สร้างความเป็นธรรมนับตั้งแต่
: สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล (Individual Liberty)
+
: สิทธิเสรีภาพในท้องถิ่น (Local Liberty)
+
: สิทธิและเสรีภาพในบ้านเมือง (Civil Liberty)
+
: เสรีภาพทางสังคม (Social Liberty)
+
: สิทธิและเสรีภาพทางการเมือง (Politic Liberty)
+
: ประชาธิปไตย (Democratic)
เมื่อเรายอมรับความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วยความถูกต้องชอบธรรม โดยคำนึงถึงความจำเป็นซึ่งชีวิต (Life) เป็นพื้นฐานแล้ว หากได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง การเรียกร้องในสิทธิที่ชอบธรรมจึงถือเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ ยกเว้นสัตว์ที่ไม่อาจจะเรียกร้องได้ จึงเป็นเรื่องของมนุษย์ผู้เจริญแล้วจะต้องกระทำให้เกิดการคุ้มครองในสิทธิขั้นพื้นฐานแก่มัน การที่บอกว่าสัตว์อยู่ได้ด้วยความเมตตาของมนุษย์ จึงไม่ใช่เหตุผลที่ถูกต้องเสมอไป ทั้งนี้เพราะความสูงต่ำในเรื่องคุณธรรมในใจคนนั้นต่างกัน
ปัญหาของการเรียกร้องในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานหรือสิทธิมนุษยชนนั้นอยู่ที่ว่า หากขาดความสนใจในปัญหาหรือความจำเป็นขั้นพื้นฐานเมื่อใด เมื่อนั้นฝ่ายที่เรียกร้องจะสร้างการต่อรอง จนท้ายสุดกลายเป็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะกัน ไม่มีใครสนใจที่จะพิจารณาสาเหตุของปัญหา หรือพูดจากันด้วยเหตุผล หากเกิดบรรยากาศเช่นว่านี้ก็จะกลายเป็นเรื่องอื่นไปทันที เช่น การที่ชาวบ้านปิดถนนรัฐบาลก็ไม่สนใจ ขณะเดียวกันก็ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายฝูงชน ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่าความถูกต้องชอบธรรมไม่เกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น หลักของการเรียกร้องในเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเดือดร้อนในเรื่องใดก็ตาม ผู้ที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และต้องถือเป็นธุระที่สำคัญยิ่ง พร้อมกับหาทางแก้ไขอย่าให้บานปลายกลายเป็นเรื่องอื่น การแก้ปัญหาต้องไม่ยืดเยื้อ อย่าให้เข้าทำนองที่ว่ากว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้หรือวัวหายล้อมคอก เป็นต้น ดังนั้น ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และอิสรภาพ จะแสดงออกหรือกระทำการได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับกฎกติกาที่สังคมร่วมกันกำหนด แต่กฎกติกาจะถูกต้องชอบธรรมแค่ไหนขึ้นอยู่กับผู้ออกกฎหมายว่ามีความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากน้อยแค่ไหนเป็นเรื่องสำคัญ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่สำคัญของประเทศไทยในปี 2552
5 ลำดับประเภทสิทธิมนุษยชนที่มีการร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด
1. สิทธิในชีวิตและร่างกาย ร้อยละ 20.59
2. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 17.96
3.ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ร้อยละ 13.31
4. สิทธิในการจัดการที่ดิน ร้อยละ 10.37
5. สิทธิแรงงาน ร้อยละ 9.13
คำขวัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
“เคารพสิทธิมนุษยชน ถ้วนทุกคนมีสันติสุข”
ลิงค์บทเพลงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ขอบใจมากที่เสนอเรื่องราวดีๆ ให้กับสังคม
ตอบลบครับผม อิอิ
ตอบลบ